วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดบทที่ 13

แบบฝึกหัดบทที่ 13
1.จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นการซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินทาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2. เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้องค์การมีการได้เปรียบคู่แข่ง
ตอบ เพราะพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าจ้างพนักงานขาย เป็นต้น จึงช่วยในองค์กรลดต้นทุนในการผลิตลง
3. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ประเภทของพาณิชย์อิกทรอนิกส์ จำแนก 4 ประเภท
               1. ธุรกิจกับธุรกิจ(Business to Business B2B ) เป็นการดำเนินธุรกิจระหว่างธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกันหรือระดับต่างกัน
               2. ธุรกิจกับผู้บริโภค(Business to ConsumerB2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ในรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถสอบถามข้อมูลและเลือกสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
               3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government B2G) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ธุรกิจที่ทำธุรกรรมกับหน่วยงานราชการจะติดตามข้อมูลข่าวสสารและประมวลการจัดหาสินค้า หรือโครงการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
               4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค(Consumer to ConsumerC2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค มีการพูดคุยเป็นการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขานสินค้าในรูปแบบการประมูลสินค้า
4. พาณิชอิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
    ตอบ การเพิ่มประสิทธิภาพละประสิทธิผล
             - การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
             - การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
             - การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
             - การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
             - การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
             - โครงข่ายเศรษฐกิจ
             - การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
5. หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1. ผลิตภัณฑ์ (Product) สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตามความต้องการของลูกค้าทั้งด้านคุณภาพ รูปแบบ สีสัน และประโยชน์ใช้สอย รวมไปถึงตรายี่ห้อสินค้า
         2. ราคา (Price) การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้าดังนั้นควรตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสมตลาดละผู้บริโภค
         3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) การหาทำเลที่ดีเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินได้ว่าธุรกิจจะรุ่งเรืองหรือไม่ แต่เว็บไซต์พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลเทียบได้กับการตั้งชื่อร้าน ศัพท์ทางอินเตอร์เน็ตเรียกว่า โดเมนเนม ดังนั้นทำเลการค้าทาอินเทอร์เน็ตจึงไม่ได้หมายถึงที่ตั้งของร้าน การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำได้ง่าย และสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์
         4. การส่งเสริมการขาย (Promotion) กระบวนการที่จะทำให้สินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนชื่อด้วยการลด แลก แจก และแถมสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง
         5. การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิตหรืออีเมล์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเว็บไซ์ ดังนั้นผู้ดูแลเว็บไซ์จึงจเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกจรรกรรมออกไปได้ ในส่วนตัวผู้ขายเองนั้น ก็จะต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตังของลูกค้าคือ Privacy Policyให้ชัดเจนบนเว็บไซ์ และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่องครัด
        6. การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization)เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซ์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ สามารถเข้าใจพฤติกรรม หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการแบบเจาะจงบุคคล และสามารถสร้างสินค้าและบริการจากพื้นฐานความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลจริง ๆ
6. จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ - สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก
         - สามารถจัดหาสินค้าและบริการจากผู้จำหน่ายแหล่งต่าง ๆ ได้โดยตรงและรวกเร็ว
         - สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารเนื่องจากคุณประโยชน์อินเตอร์เน็ต
         - องค์กรที่มีขนานเล็กสามารรถดำเนินธุรกิจแข่งขันกับองค์การที่มีขนาดใหญ่ได้
         - สามารถสร้างผลประกอบการที่เป็นกำไรเพิ่มมากขึ้น
7. จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
    ตอบ - มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ผ่านทางฟังก์ชันระบบงาน สอบถาม กระทู้ สนทนา หรือแม้แต่ห้องสนทนา
             - ตัวบทกฎหมายในบางมาตราและด้านภาษียังไม่ได้รับกาปรับปรุงให้มีความเหมาะสม
             - นโยบายของเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และมาตรฐานต่าง ๆ ยังไม่สอดคล้องและเหมาะสม
             - ผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
             - ลูกค้ายังไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นและจับต้องสินค้าได้
             - ลูกค้าบางส่วนยังชอบวิธีการสั่งซื้อสินค้าและบริการในลักษณะแบบเห็นหน้าตากัน
8. ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
ตอบ  - ความไม่ปลดอภัยของข้อมูล ในกรณีที่ลูกค้าใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์เจ้าของธุรกิจจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการเสียค่าใช้จ่ายมาขึ้น และการใช้วิธีที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน จนลูกค้าอาจจะต้องปวดหัวกับความยุ่งยาก จึงต้องมีการพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น แต่มีความปลอดภัยสูงสุด
         - ในประเทศไทยยังขาดความสะดวกในเรื่องของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์อยู่บางประการ เช่น การไม่มีธนาคารที่รองรับความเสี่ยงในการประกอบการชำระเงินจากพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
          - การที่ลูกค้าเกิดความไว้วางใจในการซื้อผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และความลอดภัยของข้อมูลไม่มากเท่าที่ควร
          - รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการดูแลพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่เพียงพอในการควบคุมซื้อขายผ่านเว็บไซต์ทั้งรายใหญ่และรายย่อย
           - ลูกค้ายังขาดความรู้เรื่องกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต ส่วนในกรณีที่ลูกค้าอยู่ต่างประเทศการบังคบใช้กฎหมายยังมีความสับสนว่าจะต้องใช้ของประเทศใดเป็นหล

สรุปเนื้อหาบทที่ 13

สรุปท้ายบทที่ 13 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                 ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่งขัน ซึ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงเป็นการดำเนินธุรกิจโดยการแลเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และการบริการ การโฆษณาผ่านอิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น การทำงานค้าบนโลกอินเตอร์เน็ตมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากการค้าขายทั่ว ๆ ไป ทำให้พาณิชอิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไป ดังต่อไปนี้
- การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
- การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
- การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
- การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
- โครงข่ายเศรษฐกิจ 
- การเสริมภาพลักษณ์อันดี 
                การที่องค์การจะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน เพื่อช่วยสนับสนุนใน              การดำเนินธุรกิจนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยด้านต่าง ๆ ทั้งข้อดีข้อเสีย ทั้งนี้เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นซึ่งข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น ส่วนหลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างจากหลักการตลาดทั่วไป ซึ่งเรียกว่า หลัก หารตลาด 6Psประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย การักษาความเป็นส่วนตัวและการให้บริการแบบเจาะจง อีกทั้งยังพบปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆ ในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพบว่า รัฐบาลควรมีมาตรการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างรีบด่วน เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำการค้าด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นใจ นอกจากนี้ต้องมีกฎหมายรัดกุมและต้องส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ทางด้านสารสนเทศด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 12

แบบฝึกหัดบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ
1. เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
ตอบ     เพราะการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดีจะทำให้องค์การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างๆได้ และอาจจะทำให้องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ในด้าน
2. ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
ตอบ     ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจภาคเอกชนกลยุทธ์ในการแข่งขันก็คือการค้นหาความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตลาด หรือการได้กำไรที่มากกว่าที่บริษัทอื่นทำได้ตามปกติกลยุทธ์เช่นนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้บริษัทสามารถได้กำไรได้อย่างยั่งยืนเหนือกว่าคู่แข่งเมื่อบริษัทคู่แข่งรู้จักใช้ไอทีเหมือนกับเราก็จะทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรักษาความได้เปรียบเอาไว้ได้ตลอดไปการเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอาจทำให้คู่แข่งขันสามารถพัฒนาระบบใหม่ๆได้ในเวลาอันสั้นและทำให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเมื่อปีก่อนกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปได้โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนได้การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ประกอบปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ดอกเบี้ยและน้ำมันมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นการหลั่งไหลของสินค้าจากประเทศจีนเป็นต้นดังนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดีที่จะสามารถแข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้
3. องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันโดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร
ตอบ      การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาดการดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations)เพื่อพัฒนาและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Ability) ขององค์การ
4. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ
ตอบ    โครงสร้างขององค์การธุรกิจสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การซึ่งประกอบไปด้วย
ฐานข้อมูลต่างๆขึ้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐ
ตอบ    ผู้บริหารไทยไม่ด้อยกว่าด่างชาติ ขอเพียงแต่ผู้บริหารไทยศึกษาหาความรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ (New Innovation) และศึกษาการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ
6.ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า
ตอบ     องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษาแต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
7. จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ
ตอบ     ผู้บริหารระบุความต้องการสารสนเทศได้ชัดเจนและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ใน การออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการต่อเชื่อมระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวกรวดเร็วถูกต้องและทั่วถึงซึ่งจะทำให้บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากนี้ผู้บริหาร
3.ผู้ บริหารต้องวางแผนความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ
8. เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ
ตอบ      เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไรเพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย
9. เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร
ตอบ      
- พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
- พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่
- พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด
10. เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ
ตอบ     เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้านและการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปเนื้อหาบทที่ 12

สรุปท้ายบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ
                         หัวใจสำคัญในการธำรงอยู่ขององค์กรธุรกิจคือ ธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน และสามารถดำเนินการแข่งขันกับคู่แข่งขันอย่างมีประมิทธิภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงรารวดเร็วและรุนแรงของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์การธุรกิจต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนการรักษาพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงในสังคมซึ่งเราเรียกว่า การดำเนินการเชิงกลยุทธ์ ปัจจุบันเราสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การในหลายระดับตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การจัดทำและเสนอสารสนเทศแก่ผู้บริหาร จนกระทั่งถึงการดำเนินในระดับกลยุทธ์ขององค์การ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำใช้ในการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ตังอย่างเช่น
             - การกำหนดโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การใหม่
             - การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และพันธมิตรธุรกิจ เป็นต้น ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรืล้มเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาทสำคัญ นอกเหนือจาการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการกำหนอกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นถ้าผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทคมประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างผลงานให้แก่ตนเองแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 11

แบบฝึกหัดบทที่ 11 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
1. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ     เพื่อได้มีความพยายามเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ สร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การและผู้บริหารสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
2.จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ
ตอบ     ขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ คือ การกำหนดกลยุทธ์กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การปริมาณโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศและกำหนดรายละเอียดดำเนินงาน
3.ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร
ตอบ     มีลักษณะเป็นระบบที่รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศ และมีความสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคือมีการจัดสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และจะประมวลผลสารสนเทศ
4.ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ    มีหน้าที่ที่สำคัญ   3   ประการคือ 
 1.การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
2.การจัดการด้านการเงิน (Financial   Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
3.การควบคุมทาการเงิน (Financial control)   เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
1.การควบคุมภายใน  (Internal   Control)
2.การควบคุมภายนอก (External   Control)
5.ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง
ตอบ    ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมี   8  ระบบดังนี้
1.ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย
2.ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
3.ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
4.ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
5.ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
6.ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
7.ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
8.ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
6.เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้างจงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ       
1.ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (Production/Operations Data) เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจัยของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหา และการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
2.ข้อมูลสินค้าคงคลัง (Inventory Data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
 3.ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ  (Supplier Data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติและราคาวัตถุดิบ  ตลอดจนช่องทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange)หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยในการประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.ข้อมูลแรงงานและบุคลากร  (Labor Force and Personnel Data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
5.กลยุทธ์องค์การ (Corporate Strategy) แผนกกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
7.ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร
ตอบ     MRP คือ   ระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมคือ ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ เป็นต้น
8.ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ    สามารถทำให้การผลิตและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมาก
9.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร
ตอบ   เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในเรื่องการดำเนินงานช่วยให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
10.จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ตอบ    การตัดสินใจในเรื่องของค่าจ้างและสวัสดิการ

สรุปเนื้อหาบทที่ 11

สรุปท้ายบทที่ 11 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
                   ปัจจุบันสมาชิกหลายส่วนในสังคมสมัยใหม่ได้เริ่มตะหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนรูปของระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ชัดเจนกว่าอดีต นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการทำกิจกรรม และต่อความสัมพันธ์ของภาคธุรกิจในระดังองค์การ กลุ่ม และบุคคล โดยเทคโนโลยีสารสนเทศช่วย ให้การดำเนินงานขององค์กรสะดวกรวดเร็ว และถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การเงินและการธนาคาร ที่บุคคลและสถาบันการเงินสามารถกระทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างกัน แม้จะอยู่ห่างกันทางระยะทาง กรขนส่งวัสดุภัณฑ์ที่สามารถตรวจสอบพิกัดของสิ่งของ สายการบินที่สามารถสำรองที่นั่ง ตรวจสอบความพร้อมด้านการบิน รวบรวมข้อมูลของผู้โดยสาร หรือธุรกิจขายสินค้าทางโทรทัศน์ ซึ่งลูกค้าสามารถสั่งซื้อผ่านเครือข่ายใยแก้ว เป็นต้น ซึ่งเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ระบบสารสนเทศทางธุรกิจเป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ ทั้งในระบบระบบปฏิบัติการและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศทางธุรกิจออกเป็นระบบย่อยดังต่อไปนี้
- ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี
- ระบบสารสนเทศด้านการเงิน
- ระบบสารสนเทศด้านการตลาด
- ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
- ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล
                      ปัจจุบันผู้จัดการด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การผลิต หรือทรัพยากรบุคคลต่างต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการดำเนินงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้บริหารที่ขาดทักษะด้านสารสนเทศจะเสียโอกาสในการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน ดังนั้นบุคคลที่ต้องการความสำเร็จในอนาคตต้องติดตาม และคาดการณ์แนวโน้มของความสัมพันธ์ ระหว่างดำเนินการธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทัน

แบบฝึกหัดบทที่ 10

แบบฝึกหัดบทที่ 10 การจัดการความรู้
1. เพราะเหตุใดในปัจจุบันความรู้จึงมีความสำคัญกับองค์การ
ตอบ      เมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจึงทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่า สังคมสารสนเทศ ,สังคมแห่งความรู้ หรือสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นผลให้องค์การต่างๆต้องปฏิรูปตนเองเพื่อความอยู่รอดกันอย่างเต็มที่ และรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
2.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล ความรู้ และสารสนเทศ
ตอบ      ข้อมูล  คือ   ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง    บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร
ความรู้    คือ   กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน
สารสนเทศ    หมายถึง   ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
3. ลำดับขั้นของความรู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ     5   ประเภท
1. ความสามารถ (Capability)
2.ความชำนาญ (Expertise)
3. ความรู้ (Knowledge)
4. สารสนเทศ (Information)
5. ข้อมูล (Data)
4. โมเดลการสร้างความรู้ (SECI) ประกอบด้วยกระบวนการอะไรบ้าง และแต่ละกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ      Socialization    คือ    การสร้างความรู้ด้วย การแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะ
สมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
Externalization     คือ    การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้
เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
Combination   คือ   การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้
Internalization    คือ    การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆโดยการ ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และปรับปรุงตนเอ
5. เพราะเหตุใดองค์การในปัจจุบันจึงเล็งเห็นเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้
ตอบ       จะเห็นได้ว่าการสร้างความรู้ให้อยู่คู่กับองค์การจะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทั้งองค์กร ไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ในองค์การ คือ องค์จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความรู้ และเมื่อองค์การร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้ จะ ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การในที่สุด ดังนั้นองค์การใดที่มีการสร้างสรรค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้งจะเป็นแรงผลัก ดันอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในองค์การต่อไป
6. จงอธิบายความหมายของการจัดการความรู้
ตอบ    การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
7. กระบวนการของการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ      ประกอบด้วย   6   ส่วน
1. การสร้างความรู้ (Create)
2. การจัดและเก็บความรู้ (Capture/Store)
3. การเลือกหรือกรองความรู้ (Refine)
4. การกระจายความรู้ (Distribute)
5. การใช้ความรู้ (Use)
6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้ (Monitor)
8. ดังที่ Brain  Quiun กล่าวไว้ว่า  “การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ” ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร
ตอบ       เห็นด้วย       เพราะเทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทไม่มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และจะเห็นได้ว่า ลำพังเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดสินค้า บริการ กระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ได้ เพราะทั้งหมดนี้จะมีอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จในการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ความสำเร็จในการจัดการความรู้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว

สรุปเนื้อหาบทที่ 10

สรุปท้ายบทที่ 10 การจัดการความรู้
          ในสังคมแห่งความรู้ (Knowledge Society) ความรู้ ถือว่าเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่ายิ่งซึ่งแตกต่างจากปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งสภาวะดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยลำดับขั้นความรู้สามารถแบ่งออกเป็น ลำดับขั้นคือ 
                  ข้อมูล 
                  ความรู้ 
                  สารสนเทศ 
                  ความชำนาญ 
                  ความสามารถ           
           ในเมื่อสารสนเทศและความรู้มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการจัดการสารสนเทศ ไม่สามารถจัดการความรู้ เพราะมีความซับซ้อนมากกว่า จึงมีการจัดการความรู้ หรือ KM เกิดขึ้น ซึ่งการจัดการความรู้ หมาถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบที่องค์กรพัฒนาขึ้นมาเกี่ยวกับการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้การแพร่กระจายความรู้ เพื่อพัฒนาให้องค์การมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน            
             กระบวนการในการจัดการความรู้นั้น มีการจำแนกที่แตกต่างกัน จากการศึกษา ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่ากระบวนการของการจัดการความรู้นั้น ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ส่วนคือ   
               กระบานการแสวงหา 
               การสร้าง 
               การจัดเก็บ 
               การถ่ายทอด 
               การใช้แพร่ความรู้ 
              โดยองค์การที่มีความคิดในการจัดการความรู้ จำเป็นต้องพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เฉพาะองค์การเองเพื่อให้องค์การสามารถจัดการความรู้ได้เป็นอย่างมีประสิทธิผล

แบบฝึกหัดบทที่ 9

แบบฝึกหัดบทที่ 9
1. จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ตอบ ระบบความฉลาด หมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่า มีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียนว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เนื่องจากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความหมายและความเข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
AI หมายถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามรถเรียนรู้ ใช้เหตุผล และปรับปรุงข้อบกพร่องของตนให้ดีขึ้น
2. AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
ตอบ ปัญญาประดิษฐ์ ระบบสารสนเทศทั่วไป
- ประมวลสัญลักษณ์และตัวเลข
- ประมวลทางคณิตศาสตร์
- ไม่ดำเนินตามขั้นตอน
- วิเคราะห์และแก้ปัญหาตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์
- ให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน
3. เราสามารถจำแนก AI ออกเป็นกี่ประเทศ อะไรบ้าง
ตอบ
1. การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
2. ระบบภาพ (Vision System)
3. ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
4. หุ่นยนต์ (Robotics)
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI อย่างไร
ตอบ ระบบสารสนเทศหมายถึงชุดค่ำของคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับปัญหาเฉพาะเรื่อง และกระบวนการอนุมานเพื่อนำไปสู่ผลสรุปขอปัญหานั้น โดยความรู้ที่เก็บรวบรวมอาจเป็นความรู้ที่ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการในเอกสารต่าง ๆ หรือเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
5. จงเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
ตอบ ความแตกต่างของความรู้และข้อมูล
ความชัดเจน
ความเป็นสากล
6. เราสามารถประเมินความรู้ระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
ตอบ การ ทดสอบแบบ Turning (Turning Test) โดย กำหนดคอมพิวเตอร์และบุคคลที่มีความรู้ในสาขานั้นตอบคำถามจากผู้สัมภาษณ์ ผู้ตอบคำถาม และระบบความฉลาดถูกจัดให้อยู่ในห้องที่แยกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน
7.จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา ES ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
ตอบ กระบวนการพัฒนา ES ออกเป็น 5 ขั้นตอน
1) การวิเคราะห์ปัญหา ผู้พัฒนาระบบความฉลาดจะดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำระบบไปใช้งานในสถานการณ์จริงโดยทำเข้าใจกับปัญหา จัดขั้นตอนในการแก้ปัญหา การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา ตลอดจนรวบรวมความเข้าใจในสาระสำคัญที่จะนำมาประกอบการพัฒนาระบบ
2) การเลือกอุปกรณ์ ผู้พัฒนาระบบต้องพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ ES ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความต้องการอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกัน โดยพิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญ
3) การถอดความรู้ การถอดความรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนา ES ซึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่า เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบความฉลาด
4) การสร้างต้นแบบ ผู้พัฒนา ES นำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวประกอบารสร้างต้นแบบ ของ ESโดยผู้พัฒนาระบบจะเริ่มต้นจากกากนำแนวความคิดความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ต้องการพัฒนาจัดเรียงลำดับ โดยเริ่มจากเป้าหมายหรือคำตอบของการประมวล การไหลเวียนทางตรรกะของปัญหา ขั้นตอนแสดงความรู้ การจัดลำคับของขั้นตอนที่จำเป็น พร้อมทั้งทดสอบการทำงานองต้อนแบบที่สร้างขึ้นว่า สามารถทำงานได้ตามที่ได้วางแผนไว้
5) การขยาย การทดสอบ แลการบำรุงรักษา หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะให้ระบบสามารถนำไปใช้ในสภาวการณ์จริงได้ ก็จะทำให้การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นจากต้นระบบ โดยเฉพาะสวนที่เป็นฐานความรู้ เป็นส่วนที่ใช้อธิบายส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ และตกแต่งหน้าจอให้มีความเหมาะสมการใช้งานมากขึ้น เมื่อระบบถูกขยายขึ้นแล้วก็ต้องมีการทดสอบระบบอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ในกรณีศึกษาที่ทีมพัฒนาพอรู้คำตอบแล้ว เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบว่าได้ทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ เมื่อได้ผ่านการทดสอบแล้ว ก็พร้อมที่จำเป็นใช้จริงได้ ก็ควรมีหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนในการบำรุงรักษาและปรับปรุงอยู่เสมอฐานความรู้ ฐานความรู้ควรต้องได้รับการเพิ่มความรู้ลงไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ระบบสามารถมีความรู้เพียงพอในการแก้ปัญหาต่างๆ
8. วิศวกรรมความรู้คืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากการวิเคราะห์และออกแบบอย่างไ
ตอบ วิศวกรความรู้ ซึ่งมีความแตกต่างจาก “นักวิเคราะห์และนัดออกแบบระบบ” เองจากวิศวกรความรู้จะใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลของการวิเคราะห์และตัดสินใจในปัญหาทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ โยข้อมูลที่ได้จะยากการอธิบายเหตุผลในการตัดสินใจของบุคคลในแต่ละครั้ง ขณะที่นักวิเคราะห์ระบบจะพัฒนาระบบสารสนเทศจากข้อมูลทางตรรกะและคณิตศาสตร์
9. จะอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
ตอบ ระบบเครือข่ายเส้นประสาทเป็นอีกแขนงหนึ่งของ AI ที่ได้รับความสนใจศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานแก้ปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาการตามประสบการณ์เนื่องจากระบบเครือข่ายเส้นประสาทจะเลียนแบบการทำงานของสมอง และระบบประสาทมนุษย์ โดยระบบจะสัมผัส เรียนรู้ จดจำ และปฏิบัติงานตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพตามการออกแบบ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำให้ระบบเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10.ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทางใด
ตอบ การพัฒนาความฉลาดของระบบคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เมื่อเปรียบเทียบกับความฉลาดของมนุษย์ยังมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะสามารถลอกเลียนแบบได้อย่างสมบูรณ์
การนำระบบความฉลาดมาประยุกต์ในทางธุรกิจจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ และทำให้ธุรกิจมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว ตลอดจนทำให้บุคคลสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาผลิตภาพขององค์การ

สรุปเนื้อหาบทที่ 9

สรุปท้ายบทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
          ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรคอมพิวเตอร์พยายามพัฒนาอุปกรณ์ และชุดคำสั่งที่สามารถลอกเลียนความฉลาดของมนุษย์ เช่นการเรียนรู้จากประสบการณ์ การใช้ความรู้สึกในการประเมินสถานการณ์ เป็นต้นปัจจุบันการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับ AI แยกระบบความฉลาดออกเป็นหลายสาขาด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมากล่าวเพียง 5 สาขาดังนี้           
การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing )            
ระบบภาพ (Vision System)            
ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)           
หุ่นยนต์ (Robotics)            
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)         
          ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ให้คำปรึกษาที่ลอกเลียนกระบวนการใช้เหตุของผู้เชี่ยวชาญในสาขาความรู้นั้น โดยปกติธุรกิจมีเหตุผลสำคัญในการพัฒนา ES ดังนี้            
กระจายความรู้ (Knowledge Distribution)            
ความแน่นอน (Consistency)            
การเตรียมสำหรับอนาคต
ประโยชน์ของ ES            
รักษาและป้องกันความรู้สูญหาย            
เตรียมความพร้อมของข้อมูล            
เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท            
สามารถตัดสินใจปัญหาได้อย่างแน่นอน            
เครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ          
              การพัฒนาระบบ ES นับว่ามีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในที่นี้พอสรุปได้ 5 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ปัญหา การเลือกอุปกรณ์ การถอดความรู้ การสร้างต้นแบบ และการขาย การทดสอบ และการบำรุง           ระบบเครือข่ายเส้นประสาทเป็นอีกแขนงหนึ่งของ AI ที่ได้รับความสนใจศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานแก้ปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาการตามประสบการณ์เนื่องจากระบบเครือข่ายเส้นประสาทจะเลียนแบบการทำงานของสมอง และระบบประสาทมนุษย์ โดยระบบจะสัมผัส เรียนรู้ จดจำ และปฏิบัติงานตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพตามการออกแบบ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำให้ระบบเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัดบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. เหตุใดการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ
ตอบ    ผู้บริหาร (Executive) เป็น บุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตของ องค์การผ่านการตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสสำคัญทางธุรกิจซึ่งการตัดสินใจของ ผู้บริหาร จะมีผลไม่เพียงต่อการดำเนินงานในระยะสั้น แต่ครอบคลุมถึงความอยู่รอด ความมั่นคง และความเจริญเติบโตขององค์การ
2. สารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีคุณลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากสารสนเทศสำหรับบุคคลอื่นในองค์การอย่างไร
ตอบ     ผู้บริหารแต่ละคนจะมีสัดส่วนการตัดสินใจในแต่ละลักษณะแตกต่างกันตามงานของตน หรือสถานการณ์ของธุรกิจ แต่ลักษณะร่วมในการตัดสินใจของผู้บริหารที่เหมือนกันคือ ผู้บริหารที่มีศักยภาพภาพต้องสามารถตัดสินใจในปัญหาหรือวิกฤตการณ์ของ องค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำองค์การฝ่าวิกฤตและดำเนินไปสู่จุดม่งหมายที่ต้องการอย่างราบรื่น
3. ปกติผู้บริหารได้รับข้อมูลในการตัดสินใจจากแหล่งใดบ้าง ตลอดจนข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
ตอบ     1. ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดำเนินงาน (Transaction Processing Data) เป็น ข้อมูลที่แสดงผลการปฏิบัติงานขององค์การ หน่วยงาน หรือระบบที่สนใจ ข้อมูลจากการดำเนินงานช่วยสร้างความเข้าใจและสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ ดำเนินงานที่ผ่านในอดีต โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ การควบคุม และการแก้ปัญหาการดำเนินงานโดยทั่วไป ตลอดจนสามารถนำมาประกอบการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. ข้อมูลจากภายในองค์การ (Internal Data) เป็น ข้อมูลที่จัดทำขึ้นภายในองค์การ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงานของกิจกรรม หรือโครงการในด้านต่าง ๆ ขององค์การได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย การคาดการณ์ยอดขายและรายได้ และแผนทางการเงิน เป็นต้น โดยข้อมูลจะแสดงอดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคตขององค์การ เพื่อกำหนดแนวทางและจัดส่วนผสมของทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อมูลจากภายนอกองค์การ (External Data) ปัจจัย ภายนอกมีผลกระทบต่อองค์การโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม แลวิทยาการในประเทศหนึ่งจะมีเกี่ยวเนื่องไปทั่วโลก ผู้บริหารระดับสูงมักใช้ข้อมูลที่มาจากแหล่งภายนอกมาประกอบในการตัดสินใจของ ผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือการตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจหรือล้มเลิก เป็นต้น
4. จงอธิบายความสำพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันในองค์การในยุคปัจจุบัน
ตอบ    ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีที่หนึ่ง ตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขอคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริการองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต้องสามารถทำการตัดสินใจ ทางเลือกของการแก้ปัญหาและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาทางธุรกิจที่ซับ ซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาด ในการตัดสินใจลง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศยังมิได้เป็น ความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงานทางธุรกิจด้วย
5. จงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทักษะทางสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
ตอบ    จากการศึกษาทำให้เราสามารถกล่าวได้ว่า ผู้บริหารระดับสูงในประเทศสหรัฐอเมริกามีความรู้และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมา ประยุกต์ในการทำงานมากขึ้น แต่ภาพรวมของความเข้าใจและการใช้งานของระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยยังมิได้พัฒนาทักษะทางสารสนเทศสู่ ระดับที่ต้องการ และความเข้าใจอย่างแท้จริงในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลาของการตื่นตัวด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีความเข้าใจและทักษะมากขึ้น โดยเฉพาผู้ที่เติบโตในยุคของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในทางปฏิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำสารสนเทศมาส่งเสริมศักยภาพในการ ดำเนินงานขององค์การ ซึ่งจะส่งผลให้องค์การสามารถดำเนินงานโดยไม่เสียเปรียบคู่แข่งขันนอกจากนี้ การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานของธุรกิจต้องได้รับความสำคัญ และการสนับสนุนจากผู้บริหาร มิเช่นนั้นพัฒนาการของระบบสารสนเทศจะไม่สามารถเกิดขึ้นในทิศทางที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การได้
6. จงอธิบายความหมายและคุณลักษณะเฉพาะของ EIS
ตอบ    ลักษณะรายละเอียดระดับการใช้งานมีการใช้งานบ่อยความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหารการใช้งาน ใช้ในงานตรวจสอบ ควบคุมการสนับสนุนการตัดสินใจผู้บริหารระดับสูงไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนการสนับสนุนข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรผลลัพธ์ที่แสดงตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดียการใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆความเร็วในการตอบสนองจะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใดตารางแสดงลักษณะเฉพาะของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, DSS และ MIS
ตอบ      EIS และ DSS ต่าง ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ ใช้ แต่ทั้งสองระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้ โดยที่เราสามารถกล่าวได้ว่า EIS เป็น DSS ที่ ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสารสนเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหา และการดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้อง สมบูรณ์ แต่สร้างความเข้าใจและให้ภาพรวมของระบบหรือปัญหาที่ผู้บริหารสนใจ โดย EIS อาจได้รับการออกแบบและพัฒนาจากฐานของ DSS เพื่อ ให้ผู้บริหารสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน DSS ถ้าผู้บริหารเกิดความต้องการข้อมูลมากกว่าที่ EIS ถูกพัฒนาขึ้น
8. คุณสมบัติสำคัญของ EIS มีอะไรบ้าง
ตอบ      1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Plannig Support )
ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ( External Environment  Focus )
ปกติ สิ่งที่ผู้บริหารต้องการจากระบบสารสนเทศคือ การที่จะสามารถเรียกสารสนเทศที่ต้องการและจำเป็นต่อการตัดสินใจออกมาจากฐาน ข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะข้อมูลและข่าวสารที่เกิดขึ้นกับ สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการประกอบการตัดสินใจ
3.มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad- based Computing Capabilities ) การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและ ขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้างๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด
4.ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use )
เนื่อง จากผู้บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้ บริหารมีค่ามาก
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization )
การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่นและต่อการ ดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer ) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาEIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EI S ที่มีศักยภาพสูงมีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ
9. ข้อดีและข้อจำกัดในการนำ EIS มาใช้งานในองค์การมีอะไรบ้าง
ตอบ      ข้อดี
1. ลักษณะของข้อมูล คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติประจำอยู่แล้ว
2. ใช้ บุคลากร งบประมาณ เวลาดำเนินการ ค่อนข้างน้อย
3. โอกาสสร้าง MIS ได้สำเร็จ อยู่ในระดับสูง
ข้อเสีย
1. ความพร้อมที่ไม่เท่ากันของหน่วยงานย่อย รวมทั้ง
การรวบรวมและความทันสมัยของข้อมูล เป็น อุปสรรคต่อการผลิต สารสนเทศ เป็นส่วนรวมที่ผู้บริหารต้องการ
2. ข้อมูลประเภทเดียวกัน ปรากฏในหลายหน่วยงานย่อย
เป็น นัย แห่งความซ้ำซ้อน และ ความขัดแย้ง ทำให้ ขาดความน่าเชื่อถือ และ เสียค่าใช้จ่ายสูง
10. ท่านมีความเห็นว่ามีการประยุกต์ EIS ในองค์การในประเทศบ้างหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ      ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง
1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
3. เครื่องมือในการทำงาน
4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร