วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดบทที่ 3

1.จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
1.1  อธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ  (TPS)
                ตอบ  ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงาน ภายในองค์กร โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันของ องค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็น จำนวนมากอีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องใน อนาคต

1.2  หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
             ตอบ    
             1.การทำบัญชี  (Bookeeping) ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้น ในแต่ละวันขององค์การ โดยการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 กลุ่มคือ ลูกค้า (Customer) และผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) โดยที่องค์การต้องมการลงบันทึกรายการขายสินค้าในแต่ละวัน และบันทึกรายการซื้อสินค้าเข้าร้าน เป็นต้น
             2.การอออกแบบเอกสาร(Document Issuance) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกแบบเอกสาร   ต่าง  ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์การ               
             3.การทำรายงานควบคุม (Control Reporting) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ 

1.3  อธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงานสำหรับการจัด MRS อย่างไร
              ตอบ TPS และ MRS ข้อแตกต่างคือ MRS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์สำหรับสนับสนุนการบริหารและการจัดการของผู้ บริหาร ขณะที่ TPS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงและควบคุมการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวันต่อองค์การ

2. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
2.1 อธิบายความหมายของระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ (MRS)
ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ

2.2 รายงานที่ออกระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
                   ตอบ 4 ประเภท
                    1.รายงานที่ออกตามตาราง(Schedule Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน เป็นต้น
                    2. รายการที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report) เป็นราบงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น โดยการนำเสนอรายงานพิเศษมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้บริหารรับทราบ ใจละทำการตัดสินใจแก้ไขและควบคุมผลประโยชน์ขององค์การ เช่น รายชื่อลูกค้าที่ค้างชำระ เป็นต้น
                   3. รายการที่ออกตามความต้องการ (Demand Report) เป็นรายการที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร ซึ่งรายงานตามความต้องการจะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารต้องการทราบ เพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม
                  4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร การพยากรณ์จะอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์

 2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง 
                    ตอบ    1. ตรงประเด็น (Relevance)
                                2. ความถูกต้อง (Accuracy)
                                3. ถูกเวลา (Timelinrss)
                                4.สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiability)

2.4 คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS มีอะไรบ้างจงอธิบายอย่างละเอียด
                 ตอบ     1.  สนับสนุนการตัดสินใจ
                              2.  ผลิตรายงานตามตารางที่ กำหนด
                              3.  ผลิตรายงานตามรูปแบบที่กำหนด
                              4. รวบรวมและประมวลผลข้อมูล
                              5.  ผลิตรายงานออกมาในรูปกระดาษ

 3. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
                ตอบ     ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร    เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ้งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSSจะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารปัจจุบัน DSS ได้ รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์กร เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร

4. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
4.1 อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)
              ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผล สูงสุด หรือสามารถกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์เพื่อจะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อ สาร ระหว่างพนักงานภายในองค์กรเดียวกันและระหว่างองค์กร รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ

4.2  อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงานพร้อมยกตัวอย่าง
               ตอบ  ระบบการจัดเอกสาร ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยระบบจัดเอกสารจะประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญต่อไปนี้
1.        การประมวลคำ
2.        การผลิตเอกสารหลายชุด
3.        การออกแบบเอกสาร
4.        การประมวลรูปภาพ
5.        การเก็บรักษา

4.3 อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
              ตอบ     ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน โดยการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบในการส่งผ่านข่าวสารที่สำคัญต่อไปนี้
1.        โทรสาร
2.        ไปรษณีย์เล็กทรอนิกส์
3.        ไปรษณีย์เสียง

4.4 อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมทางไกลในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
             ตอบ ระบบประชุมทางไกล เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คนซึ่งอยู่กันคนละที่ ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน
  1. การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
  2. การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
  3. การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
  4. โทรทัศน์ภายใน
  5. การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
4.5 อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
             ตอบ ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้ เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานออกได้เป็นระบบดัง ต่อไปนี้
  1. การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
  2. การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
  3. การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์




แบบฝึกหัดบทที่ 2

1.นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management  Information Systems) หรือ MIS หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัด เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเก็บบันทึกการ เช่น การทำบัญชี การจัดทำทะเบียนประวัติ
การทำเอกสาร   เช่น  การออกใบรับส่งสินค้า  การออกเช็ค ใบเสร็จรับเงิน  
การนำเสนอข้อมูล เช่น การนำเสนอผลงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
การทำรายงานควบคุมที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ  เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ  เช่น  การออกเช็คเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน

2.ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  มีความต่างกัน ข้อมูล  หมายถึงข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยข้อมูลจะยังไม่มีความหมายในกานนำไปใช้งาน หรือ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น รายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของธุรกิจ นิสิต-นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน หรือเงินเดือนของข้าราชการ เป็นต้น
                สารสนเทศ หมายถึง ผลที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร เช่น ยอดงบดุลรายงานสรุปผลการดำเนินงาน หรือประมาณการรายได้ เป็นต้น

3.สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ                     1.) ถูกต้อง ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องและปราศจากความคลาดเคลื่อน
                             2.) ทันเวลา ข้อมูลจะต้องทันต่อเหตุการณ์และไม่ล้าสมัย
                             3.) สอดคล้องกับงาน สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารต้องได้มาจากการประมวลผลของข้อมูลที่มีสาระตรงกัน
4.) สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลบางประเภทอาจมาจากแหล่งข้อมูลที่ซับซ้อนและหลากหลายทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร

4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
 ตอบ           1.) เข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
                   2.) การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติ  โดยผู้บริหารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผน และกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน
                   3.) ตรวจสอบผลการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะต้องตรวจสอบการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
                   4. )ศึกษา และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา  ในการดำเนินงาน
                   5. )การวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรค เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงแก้ไขปัญหา
                   6.) ลดค่าใช้จ่าย ช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน ในการทำงานลง

5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
      ตอบ        1.) ความสามารถในการจัดการข้อมูล ระบบสารสนเทศที่ดีต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขและจัดการข้อมูล
                      2.) ความปลอดภัยของข้อมูล
                      3.) ความยืดหยุ่น ระบบสารสนเทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้บ
                      4.) ความพอใจของผู้ใช้ สามารถนำไปประยุกต์ในงาน หรือเพิ่มประสิทธิภานในการทำงาน

6.บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
   ตอบ        มี 3  ระดับ 1. )หัวหน้าระดับต้น (First-Line Supervisor หรือ Operation Manager) เช่น หัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย หัวหน้าแผนก
                                    2.) ผู้จัดการระดับกลาง (Middle Manager) เช่น ผู้จัดการสาขา ผู้จัดการแผนก ผู้จัดการฝ่าย หรือ ผู้อำนวยการ
                                 3.) ผู้บริหารระดับสูง(Executive หรือ Top Manager) เช่น ประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการ ผู้ว่าการ

7.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ตอบ

ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการ
ระดับปฏิบัติการ
ผู้จัดการ
ระดับกลาง
ผู้จัดการ
ระดับสูง
§ ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
§ วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
§ ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
§ ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
§ ความละเอียดของสารสนเทศ
มาก
-สรุปกว้าง ๆ
-สรุปชัดเจน
§ การรายงานเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นแล้ว
เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
อนาคต
§ ความถูกต้องของสารสนเทศ
สูง
ปานกลาง
ตามความเหมาะสม

8.ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
    ตอบ    1.) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
                2.) เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตณ์
                3.) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
                4.) มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
                5.) บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารโทรคมนาคม
                6.) การจัดและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
                7.) ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน แก่ผู้ใช้อื่น
                8.) เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่ เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

9.โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
     ตอบ โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งเป็น 3 ส่วน
1.) หน่วยวิเคราะห์ และออกแบบระบบ (System Analysis and Design Unit) มีหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และวางระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศให้เหมาะสม
2.) หน่วย เขียนชุดคำสั่ง(Programming Unit) มีหน้าที่นำระบบงานที่ได้รับการออกแบบหรือความต้องการเกี่ยวกับชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์
3.) หน่วยปฏิบัติการและบริการ(Operations and Services Unit) มีหน้าที่นำระบบงานที่ได้รับการออกแบบหรือความต้องการเกี่ยวกับชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์

10.บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
     ตอบ  บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น 7 ประเภท
1.) หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ หรือ CIO เป็นบุคลากรระดับสูงขององค์การ
2.) นักวิเคราะห์และออกแบบ หรือ SA มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงานในระดับต่างๆ
3.) ผู้เขียนชุดคำสั่ง บุคคลที่ทำหน้าที่เขียนชุดคำสั่ง
4.) ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
5.) ผู้จัดตารางเวลา ทำหน้าที่จัดตารางเวลาการใช้คอมพิวเตอร์
6.)  พนักงานจัดเก็บและรักษา ทำหน้าเก็บรักษา และจัดทำรายการของอุปกรณ์
7.)  พนักงานจัดเตรียมข้อมูล ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลจากเอกสารมาจัดอยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้

11.เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ 
  ตอบ เพราะ การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลหรือคู่แข่งขัน เป็นต้น ดั้งนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศก็ จะต้องตระหนักถึงบุคคลรอบข้างด้วยว่ามีผลกระทบต่อใคร  ในด้านความเป็นส่วนตัว ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้ามาใช้ข้อมูล

12.จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ     ผลกระทบทางบวก
1.) เพิ่มความสะดวก สบายในการสื่อสาร การบริการ และการผลิต เช่น ติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.) เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
3.) มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ในฐานข้อมูลความรู้
4.) เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการหรือผู้ด้วยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
5.) พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบ ใหม่
6.) การทำงานเปลี่ยน แปลงไปในทางที่ดีขึ้น
7.) ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จาการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
        ผลกระทบทางลบ
1.) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
2.) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก เช่น การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.) ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
4.) การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
5.) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
6.) เกิดช่องว่างทางสังคม
7.) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น
8.) อาชญากรรมบนเครือข่าย เช่น ปัญหาอาชญากรรม
9.) ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคคลั่งอินเทอร์เน็ต

แบบฝึกหัดบทที่ 1

1.จงอธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลระบบที่สื่อ สารโทรคมคม และอุปกรณ์สนับสนุน การปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผนจัดการ และใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 ประการ
1. ระบบประมวล ความซับซ้อนในการปฎิบัติงานและความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและประมวลผลข้อมูลด้วยมือไม่สะดวก ล่าช้า จึงต้องมีการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็ว
2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การจัดการข้อมูล การจัดรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนเทศทั้งภายในและนอกระบบให้สามารถดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

2.เหตุใดการจัดการข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ เพราะการจัดการเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลที่มอยู่ให้เป็นระบบ เพื่อการเรียกใช้ข้อมูลอย่างรวดเร็วในเวลาที่ต้องการ รวมไปถึงวิธีการต่างๆ ในการประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลผลและการแสดงผลข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ใน การประมวลผล เป็นศิลปะในการจัดรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3.หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)มีหน้าที่อะไร และสามารถเปรียบเทียบกับอวัยวะส่วนใดของมนุษย์
ตอบ CPU จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์สามารถเปรียบเทียบ CPU กับสมองของมนุษย์ที่มีหน้าที่หลัก 2 ประการ
1. ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล

4.เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ จำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็น 4 ประเภท
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์( Supercomputer ) คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและมีความเร็วสูง
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ( Mainframe ) คอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำและระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์รับส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
3. มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับงานสารสนเทศ
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ ( Microcomputer)หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal computer ) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า PC เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับทั้ง 3 ระบบ

5.เหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลกและท่านเห็นด้วยกับความคิดนี้หรือไม่ เพราะเหตุใดตอบ เห็นด้วย เพราะเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานประจำวัน การวางแผนยุทธวิธี การกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปได้หลายๆด้าน และยังเปลี่ยนแปลงโลกให้สามารถสื่อสารกันข้ามโลกได้ภายในไม่กี่วินาที ส่งผลให้การสื่อสารไร้พรมแดนส่งผลให้มีการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันข้ามประเทศหรือทวีปได้ อย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายอย่างแทนมนุษย์ได้

6.ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ
 ชุดคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer Program) คือ เป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุดคำสั่งจะทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่กำหนด
         ภาษาคอมพิวเตอร์(Computer Language) เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานรวมกันอย่างสะดวกราบรื่น โดยชุดคำสั่งสำหรับใช้งานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ จะถูกเขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์
โดยชุดคำสั่งถูกเขียนขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

7.ภาษายุคที่4 หรือ 4GL เป็นอย่างไร และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
ตอบ เป็นภาษาระดับสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้งาน และมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น ฐานข้อมูล การประมวลเอกสาร และการจัดตาราง เป็นต้น โดยที่ 4GL จะง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ลึกซึ้ง

8.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์การ
ตอบ
 ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร เป็นต้น เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การส่งผ่านข่าวสารข้อมูลในระบบไกลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้ง รับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาในการทำงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร ช่วยขยายการดำเนินงานขององค์กรให้ดีขึ้น ปรับปรุงการบริหารองค์กรให้สะดวกมากขึ้นและเป็นระบบที่ช่วยให้การสื่อสารข้อมูลมีความถูกต้อง ชัดเจน และรวดเร็วสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น




วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

Oracle


Oracle 
           คือ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ผลิตโดยบริษัทออราเคิล ซึ่งเป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หรือ DBMS (Relational Database Management System) ตัวโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยติดต่อ ประสาน ระหว่างผู้ใช้และฐานข้อมูล ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานฐานข้อมูลได้สะดวกขึ้น เช่นการค้นหาข้มูลต่างๆภายในฐานข้อมูลที่ง่ายและสะดวก โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างภายในของฐานข้อมูลก้สามารถเข้าใช้ฐานข้อมุลนั้นได้
ข้อดีของ Oracle
1.เทคโนโลยี Rollback Segment ถูกนำมาใช้ในโปรแกรม Oracle ประโยชน์ Rollback Segment คือ สามารถจัดการกับข้อมูลในกรณีที่เกิดการล้มเหลวของระบบ หรือภาวะระบบไม่สามารถให้บริการได้ ด้วยเทคโนโลยี Rollback Segment จะจัดการ Instance Recovery ข้อมูลไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจาก การล้มเหลวของระบบ ได้อย่างดีมาก
2. Oracle ยังมีส่วนที่เรียกว่า Timestamp ทำงานเกี่ยวข้องกับ Concurrency Control เป็นส่วนที่จัดการการทำงานกับหลาย ๆ Transaction ในเวลาเดียวกัน โดยทุก ๆ Transaction จะมี Timestamp เป็นตัวกำหนดเวลาเริ่มต้นของการประมวลผล (Process) ซึ่งช่วยในการขจัดปัญหาหลักของ Concurrency Problems
3.Oracle ใช้ได้กับฐานข้อมูลกว่า 80 แพลตฟอร์ม ซึ่งครอบคลุมเกือบทุกแพลตฟอร์มที่มีอยู่ในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์บนเมนเฟรม, มินิคอมพิวเตอร์, พีซี บนระบบปฏิบัติการตั้งแต่ Window 9x, NT, Window CE, UNIX, SOLARIS, LINUX โดยที่ในทุกพอร์ตมีโครงสร้างการเหมือนกันๆหมด คำสั่งที่ใช้ก็เป็นแบบเดียวกัน สามารถทำงานร่วมกันได้ สามารถนำข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งไปพอร์ตอื่นได้อย่างไม่มีปัญหา
ประเภทของ Oracle
1. Personal Oracle
2. Oracle Server

ออราเคิลเซิร์ฟเวอร์ มีความสามารถโดดเด่นในด้าน
         การจัดการฐานข้อมูล มีความน่าเชื่อถือสูง (reliable) ด้วยเทคโนโลยี Rollback Segmentซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทออราเคิล โดยปกติ Log file หรือไฟล์ที่เก็บ Transaction ของระบบตัวอย่างเช่น การโอนเงินจากบัญชีธนาคารหนึ่งไปเข้าอีกบัญชีธนาคารหนึ่ง การทำงานมีอยู่สองรูปแบบคือ AIJ(After Image Journal) และ BIJ (Before Image Journal) โดย AIJ จะเก็บข้อมูลที่เป็น New Value ก่อนทำการแก้ไข ส่วน BIJ จะเก็บข้อมูลที่เป็น Old Value หลังจากการทำการแก้ไขข้อมูล ในส่วนของ MS SQL Server ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเหมือนกันนั้นจะมี AIJ อย่างเดียว ในขณะที่ Oracle มีทั้ง AIJ และ BIJ ซึ่งทาง Oracle เรียกว่า Rollback Segment